วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (Information Communication Technology)
                ข้อมูล (Data) มีความหมายแตกต่างจากสารสนเทศ (Information) หรือสารสนเทศ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมักมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์การกระทำหรือลักษณะต่างๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์หรือพืชแล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw Data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึงข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที (วาสนา สุขกระสานติ 2541: 6-1)
                เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2539: 406) เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT ซึ่งสุชาดา กีรนันท์ (2541: 23) ให้ความหมายว่า หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมในกระบวนการจัดเก็บ สร้าง และสื่อสารสนเทศ  (วาสนา สุขกระสานติ 2541: 6-1) กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ ลูคัส (Lucas, Jr. 1997: 7) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวล ผลจัดเก็บ และส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักสองสาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสร้าง การจัดการ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นข้อสนเทศ การเก็บบันทึกข้อมูลเป็นฐานข้อมูล และส่งผ่านสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตลอดจนเทคโนโลยีทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่องกบการแสดงสารสนเทศโดยใช้ระบบดิจิตอล (ชุนเทียม ทินกฤต, 2540)
การสื่อสาร คือ
กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส

10329pic.jpg







ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับเทคโนโลยีการสื่อสาร
                เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies –ICT) เกิดจาก การทำงานส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ ให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว ตามความต้องการของผู้ใช้งาน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 ได้กำหนดความหมายของ ICT ดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนํามาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนําไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware)  ส่วนคําสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
ความสัมพันธ์และความหมายของ ICT
I ย่อมาจากคำว่า Information หรือ ระบบสารสนเทศ
C ย่อมาจากคำว่า Communication หรือ การสื่อสาร
T ย่อมาจากคำว่า Technology หรือ เทคโนโลยี ในที่นี้คือคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
-    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
-    เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                ความเร็ว  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วย มนุษย์
                การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้ จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
                การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูล ทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
images (17).jpg










องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียก กันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546:4)
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder)
ชนิดของสัญญาณข้อมูล ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า สัญญาณอนาลอกแต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า สัญญาณดิจิตอลซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าโมเด็ม” (Modem)
                เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่ เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น
                กระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุค ก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น   การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
- ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
- การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
- สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
- สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล  เป็นต้น
- ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง


images (10) (1).jpg






http://www.vajira.ac.th/edu/?p=30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น